นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.95 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.84 บาทต่อดอลลาร์
ราคาทองวันนี้ (27 ก.พ. 2567) เปิดตลาด"คงที่"ทองแท่งยังขาย 34,550 บาท
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงชะลอยาว คาดแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง
นับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนพอสมควร (แกว่งตัวในกรอบ 35.81-36.08 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะทยอยแข็งค่าขึ้น ตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์
ก่อนที่เงินบาทจะพลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง ในช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นวันหยุดของไทย หลังเงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นบ้าง ตามภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ
ขณะเดียวกันบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 4.30% อีกครั้ง ซึ่งการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็กดดันให้ราคาทองคำย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับ ทำให้โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เล่นในตลาดมั่นใจมากขึ้นว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้งในปีนี้ สอดคล้องกับ Dot Plot ล่าสุด จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงสดใส
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานอัตราเงินเฟ้อของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันควรเตรียมรับมือความผันผวนจากความวุ่นวายของการเมืองสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่ภาวะ Government Shutdown ได้ในช่วงปลายสัปดาห์
แนวโน้มของค่าเงินบาท จับตาทิศทางหยวน ราคาทอง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
มองว่าเงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways down จากปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าที่ทยอยแผ่วลง แต่เงินบาทก็ยังขาดปัจจัยหนุนการแข็งค่าที่ชัดเจน ทำให้การแข็งค่าจะเป็นไปอย่างจำกัด นอกจากนี้ ยังคงต้องจับตาทิศทางเงินหยวนของจีน (CNY) ราคาทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินบาทได้พอสมควรในช่วงนี้
ขณะเดียวกันในช่วงปลายเดือน เงินบาทก็อาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์ของบรรดาผู้นำเข้า ทำให้เราประเมินว่า โซนแนวรับของเงินบาทอาจอยู่ในช่วง 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไปแถว 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์) ส่วนโซนแนวต้านยังคงอยู่ในช่วง 36.15-36.20 บาทต่อดอลลาร์
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า แม้เงินดอลลาร์จะแกว่งตัว sideways ตามที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า หลังผู้เล่นในตลาดได้เชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot ล่าสุด อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากบรรยากาศในตลาดการเงินพลิกกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ซึ่งต้องรอติดตามสถานการณ์การเมืองสหรัฐฯ ในประเด็น Government Shutdown และรายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน
มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 35.55-36.20 บาท/ดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.80-36.05 บาท/ดอลลาร์
ทางด้าน ทางด้าน ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด35.95 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.13บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทผันผวนและกลับมาเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ตลาดรอข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับนโยบายการเงิน
หลังจากที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นในปีนี้จากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยตัวเลขสำคัญสัปดาห์นี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2) ที่จะรายงานในวันพุธ (28 ก.พ.) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน ม.ค.ในวันพฤหัสบดี (29 ก.พ.)
ซึ่งอาจบ่งชี้สัญญาณเงินเฟ้อและแนวโน้มนโยบายของเฟดต่อไป หากตัวเลขออกมาต่ำกว่าคาดการณ์อาจเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดกลับมาคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอีกครั้ง
Fund flowเมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ1,999 ล้านบาท แต่ขายหุ้นไทยสุทธิ1,938 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ USD/THB 35.85- 36.05 *แนะนำ ทยอยขายที่ระดับเหนือ 36.00
EUR/THB 38.80- 39.10 * แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.10
JPY/THB 0.2360- 0.2400 * แนะนำ ทยอยซื้อ0.2360
GBP/THB 45.30-45.70 AUD/THB 23.30- 23.70 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ 1
เดชา เผย ทนายคู่กรณีไม่ยอมถอนคำร้องครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ตายกราบเท้าก็ไม่ยอมถอนให้
เกิดอะไรขึ้น กับ บิตคอยน์ ราคาร้อนแรงตลอดวัน ทะยาน 2 ล้านบาท!
นศ.-ศิษย์เก่า "อุเทนถวาย" รวมตัวแสดงพลัง 5 จุด ค้านย้ายสถาบัน!